Connect with us

News

ชาวเชียงรายรับเงินเพิ่ม 1 หมื่นบาท เคลียร์โคลน

Published

on

ชาวเชียงรายรับเงินเพิ่ม 1 หมื่นบาท เคลียร์โคลน
มหาดไทย จ่าย 1 หมื่น ค่าล้างโคลนพื้นที่เชียงราย ไม่รวมเงินเยียวยา 9 พันบาท

เชียงราย – นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยในการแถลงข่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติค่าใช้จ่ายในการกำจัดโคลนและดินเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม ครัวเรือนละ 1 หมื่นบาท ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายแล้ว

นายอนุทิน กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่ต้องขออนุมัติ เนื่องจากเป็นเรื่องที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ยื่นเรื่องไปแล้ว และผ่านความเห็นชอบจากกรมบัญชีกลางแล้ว

วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า วันนี้กระทรวงได้เสนอค่าล้างโคลนและดิน สำหรับผู้ที่ประสบอุทกภัย หลังคาเรือนละ 1 หมื่นบาท ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบ ซึ่ง ครม.ไม่ต้องอนุมัติ เพราะเป็นเรื่องที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ขอความเห็นชอบจากกรมบัญชีกลางแล้ว ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางได้เห็นชอบ โดยจะจ่ายให้กับบ้านที่ภาครัฐไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือ

นายอนุทิน กล่าวว่า โดยหลังจากนี้ ปภ.จะไปสำรวจการล้างโคลนและดินในพื้นที่ จ.เชียงราย ซึ่งในส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเงินเยียวยา ครัวเรือนละ 9 พันบาท ที่ ครม.อนุมัติ ทั้งนี้ ต้องไปสำรวจบ้านที่เข้าไปทำความสะอาดเอง หรือมีการจ้างทำ เพื่อคำนวณค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถเริ่มได้เลย เพราะเราจะใช้เงินทดลองผู้ประสบภัย

นายอนุทิน กล่าวว่า ยืนยันว่าจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด และจะไม่มีใครตกหล่น เพราะเราทำเป็นรายอำเภอ ซึ่งจะประกาศให้รับทราบ แต่หากมีการตกหล่น เจ้าตัวก็สามารถมาทวงสิทธิ์ได้

โคลนในท่อระบายน้ำเป็นปัญหาใหญ่

โคลนในท่อระบายน้ำเป็นปัญหาใหญ่

วิกฤติน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมสูง ดินโคลนถล่มในพื้นที่จังหวัดเชียงรายแม้จะเบาบางลงแล้ว มีหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น อาสาสมัคร องค์กรมูลนิธิต่างๆ ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์เทศบาลบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย คาดการณ์ว่าจะสามารถเคลียร์พื้นที่ให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติประมาณ 6 เดือน   จากการประชุมหารือเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มูลนิธิกระจกเงา ศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ สมาคม Start Up

สมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา กล่าวถึงปัญหาของโคลน ที่ยังเป็นเรื่องใหญ่และเร่งด่วนต่อการดำเนินชีวิตของพี่น้องประชาชน ปริมาณโคลนจากการคำนวณของผู้เชี่ยวชาญมีประมาณ 190,000 คิว เอาออกได้แล้ว 70,000 คิว ยังเหลืออีก 120,000 คิว ที่เหนือกว่ากำลังแรงงานของคนในการเคลียร์ออก

โคลน มี 4 ประเภท

  1. โคลนบนดิน     ชำระล้างได้แต่ปัญหาคือซอยเล็กซอยน้อย  รถใหญ่ เครื่องจักรเข้าไม่ถึง เป็นปัญหาหนักระดับที่แรงงานของคนทำไม่ไหว
  2. โคลนในบ้าน   ต้องระดมกำลังจิตอาสาเข้ามาช่วยทำความสะอาด และต้องคิดถึงการชำระล้างว่าโคลนไปไหน ลงสู่แหล่งน้ำ ท่อระบายน้ำหรือ หากปริมาณมากเป็นก้อนขนาดใหญ่ต้องใช้เครื่องจัก รถอะไรขนย้าย เพื่อให้ประชาชนเข้าบ้านได้เร็วที่สุด ใช้ชีวิต ปกติ ทำกินได้
  3. โคลนในอากาศ    ที่แปลงสภาพกลายเป็นฝุ่น ยังไม่มีเจ้าภาพจัดการ เรื่องนี้สำคัญต่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชน
  4. โคลนในท่อ    ตอนนี้ยังไม่มีวิธีการจัดการ ยังจัดการไม่ได้ มีข้อเสนอถึงขั้น ให้ทุบท่อทิ้งแล้วสร้างใหม่ เนื่องจากโคลนที่อยู่ในท่อเป็นดินเหนียวและเครื่องมือเข้าไม่ถึง

ปัญหาโดยสรุปคือ โคลนในท่อเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องหานวัตกรรมเข้ามาจัดการก่อน  เนื่องจากกระทบต่อสาธารณูปโภคต่างๆ หากจะใช้น้ำแรงดันสูงดันออก น้ำก็จะไม่มีที่ไปท่วมบ้านเรือประชาชนอีกเกิดปัญหาซ้ำซ้อนในมิติอื่น

ด้าน ศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ วิศวกรอาชีพ นักธรณีวิทยาอาชีพ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณวิศวกรรมศาสตร์ ได้นำเสนอแนวทางการจัด 2 แนวทาง

แนวทางที่ 1    คือ  การใช้ถุงอุตสาหกรรม กรองโคลนแยกน้ำและกากก่อน รอให้โคลนแห้งกลายเป็นดินแล้วค่อยเคลื่อนย้ายไปทั้งถุงเพื่อลดปัญหาเรื่องฝุ่น แนวทางนี้สามารถใช้ได้เลยกับโคลนทั้ง 4 ประเภท เพื่อลดผลกระทบด้านอื่นๆ
แนวทางที่ 2    คือ  การมุ่งเป้าไปที่โคลนในท่อ ที่ต้องอาศัยสว่านที่เดินเองได้ คล้ายวิธีการทำสายไฟฟ้าใต้ดิน โดยมีสายน้ำฉีดตามให้คลายความแข็งและเอาออกมา วิธีนี้ยังไม่แน่นอนว่าจะได้ผล เครื่องมือจะพร้อมในสัปดาห์และทดลองกันในหน้างาน

เตชิต ชาวบางพรหม ผู้แทน สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)  เสนอว่าต้องทดลองทั้ง 2 แนวทางดังกล่าว  ถ้าทำได้ ก็ต้องรีบดำเนินการจัดทำข้อเสนอต่อท้องถิ่น จังหวัด รัฐบาล ส่วนงานอาสาสมัครอื่นๆ ต่อไปถ้าทำไม่ได้ต้องจัดกระบวนการค้นหาวิธีการต่อไป โดยเรื่อง ฝุ่นโคลน ทาง สช. มีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย จะช่วยประสานและนำเรื่องนี้หารือเพื่อออกแบบแนวทางการทำงาน และสร้างการมีส่วนร่วมต่อไป เนื่องจากเรื่องนี้สำคัญและเป็นปัญหากระทบต่อสุขภาพของประชาชน

โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ประสานสมาคม Start Up ประเทศไทย เพื่อระดมความคิดและออกแบบนวัตกรรมในการช่วยพื้นที่ประสบภัย มีข้อเสนอเรื่องการดักหน้าภัยพิบัติ อย่ารอให้เกิด แล้วตามช่วยเหลือ แต่ควรเตือนก่อนเกิดภัยพิบัติ เสนอให้มีการพัฒนาหน่วยดักหน้าทุกกรณีภัยพิบัติเพื่อออกแบบการทำงานต่อไป

“อนุทิน” ลงพื้นที่แม่สาย สละเงินเดือน ต.ค. มอบจิตอาสาช่วยชาวเชียงราย

“อนุทิน” ลงพื้นที่แม่สาย สละเงินเดือน ต.ค. มอบจิตอาสาช่วยชาวเชียงราย

จิตอาสาที่ซอยด็อก

Soi Dog

คนกำลังอ่านหนังสือ